เมนู

อรรถกถาจริยาปิฎก


ในขุททนิกายชื่อว่าปรมัตถทีปนี


ขอความนอบน้อมจงมีแด่


พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น



คันถารัมภกถา


(กถาเริ่มแต่งคัมภีร์)
พระจริยาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพ
โลกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณ
ใหญ่พระองค์ใด ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอานุภาพเป็นอจิน-
ไตย ผู้เป็นนายกเลิศของโลก.
พระจริยาสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
นำสัตว์ออกจากโลกด้วยพระธรรมใด ข้าพเจ้า
ขอนมัสการพระธรรมอันอุดมนั้น อันพระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว.

พระอริยสงฆ์ใด เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค
และผลสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์นั้น ผู้เป็นเนื้อนาบุญ
อันยอดเยี่ยม.
บุญใด เกิดแต่การนอบน้อมนมัสการ
พระรัตนตรัย ขอข้าพเจ้า ปราศจากอันตราย
ในที่ทั้งปวงด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
บารมีใด มีทานบารมีเป็นต้น อันเป็น
บารมีชั้นอุกฤษฏ์ซึ่งบุคคลทำได้ยาก อันพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ประทับ
อยู่ ณ นิโครธารามในแคว้นสักกะ ทรงประ-
กาศอานุภาพแห่งสัมโพธิจริยา แห่งพระบารมี
เหล่านั้น ทรงสะสมไว้ในภัตรกัปนี้.
ปิฎกใด ชื่อว่าจริยาปิฎกอันพระโลกนาถ
ทรงแสดงแล้วแก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้
เป็นยอดแห่งพระสาวกทั้งปวง.

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายผู้แสวง
หาคุณใหญ่ ได้ร้อยกรองปิฎกใดอันแสดงถึง
เหตุสมบัติของพระศาสดา.
การพรรณนาอรรถที่ทำได้ยาก ข้าพเจ้า
สามารถจะทำได้เพราะอาศัยนัยอันจำแนกสัม-
โพธิสมภารแห่งปิฎกนั้น.
เพราะการพรรณนาอันเป็นคำสอนของ
พระศาสดา จะทรงอยู่ การวินิจฉัยของบุรพ-
จารย์ผู้เป็นดังสีหะ จะดำรงอยู่ ฉะนั้น ข้าพเจ้า
จะรักษาและยึดปิฎกนั้นอันเป็นนัยแห่งอรรถ-
กถาเก่า อาศัยชาดกโดยประการทั้งปวงเป็นที่
อาศัยได้ มิใช่เป็นทางแห่งคำพูด บริสุทธิ์ด้วย
ดี ไม่วุ่นวาย เป็นข้อวินิจฉัยอรรถอันละเอียด
ของพระเถระทั้งหลายผู้อาศัยอยู่ ณ มหาวิหาร
แล้วจักทำการพรรณนาอรรถแห่งจริยาปิฎกนั้น
แสดงพระบารมีอันมีเนื้อความที่ได้แนะนำแล้ว
และควรแนะนำต่อไป.

ด้วยประการฉะนี้ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
เมื่อหวังให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
จงพิจารณาอรรถแห่งปิฎกนั้น ซึ่งจำแนกไว้
ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า จริยาปิฎกํ ชื่อว่าจริยาปิฎกด้วยอรรถว่าอย่าง
ไร ? ด้วยอรรถว่าเป็นตำราประกาศถึงพระจริยานุภาพของพระศาสดาในชาติ
ที่เป็นอดีต. จริงอยู่ ปิฎก ศัพท์นี้ มีอรรถว่า ตำรา ดุจในบทมีอาทิว่า มา
ปิฏกสมฺปาทเนน
อย่าเชื่อโดยอ้าง ตำรา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะปริยัตินั้น
เป็นดังภาชนะประกาศอานุภาพของพระจริยาทั้งหลาย ในชาติก่อนของพระ-
ศาสดานั้นเอง ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า จริยาปิฎกจริงอยู่ แม้อรรถว่าภาชนะ
ท่านก็แสดงถึง ปิฎก ศัพท์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย
กุทาลปิฏกํ อาทาย
ครั้นบุรุษเดินมาก็ถือเอาจอบและ ตะกร้า มาด้วย.
อนึ่ง จริยาปิฎกที่นั้นนับเนื่องอยู่ในสุตตันตปิฎก ในปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก
สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเนื่องอยู่ในขุททกนิกายในนิกาย 5 คือ
ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.
สงเคราะห์เข้าใน คาถา ในองค์แห่งคำสอน 9 องค์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตะ เวทัลละ. สงเคราะห์
เข้าในธรรมขันธ์เบ็ดเตล็ดในธรรมขันธ์ 84,000 พระธรรมขันธ์ อันท่าน
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ได้ประกาศไว้อย่างนี้ว่า :-

เราได้ถือธรรมที่ปรากฏแก่เราจากพระ-
พุทธเจ้า 82,000 พระธรรมขันธ์ จากภิกษุ
2,000 พระธรรมขันธ์.

โดยวรรคสงเคราะห์เข้าใน 3 วรรค คือ อกิตติวรรค หัตถินาค-
วรรค ยุธัญชนวรรค. โดยจริยาสังเคราะห์เข้าในจริยา 3 คือใน อกิตต-
วรรค 10 ในหัตถินาควรรค 10 ในยุธัญชนวรรค 15 ใน 3 วรรค อกิตติ-
วรรค เป็นวรรคต้น. ในจริยา อกิตติจริยา เป็นจริยาต้น. คาถาต้นของ
อกิตติจริยานั้น มีอาทิว่า :-
ความประพฤติทั้งหมด ในระหว่างสี่
อสงไขยแสนกัป เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ต่อจากนี้ไปจะเป็นการพรรณนาอรรถของจริยาปิฎกนั้นตามลำดับ.
จบ คันถวรัมภกถา

นิทานกถา


เพราะการพรรณนาอรรถนี้ ท่านกล่าวแสดงนิทาน 3 เหล่านี้ คือ
ทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไกล อวิทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไม่ไกล สันติเก
นิทาน นิทานมีในที่ใกล้ เป็นอันผู้ฟังทั้งหลายย่อมรู้แจ้งด้วยดีตั้งแต่เริ่มเรื่อง
ฉะนั้น พึงทราบการจำแนกนิทานเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.
กถามรรคตั้งแต่พระมหาโพธิสัตว์ทรงสะสมบารมี ในศาสนาของ
พระทุศพลพระนามว่าทีปังกรจนกระทั่งทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ชื่อว่า
ทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้วตั้งแต่สวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมณฑล ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้ว
ตั้งแต่มหาโพธิมณฑลจนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชื่อว่า สันติเกนิทาน.
ในนิทาน 3 อย่างนี้ เพราะทูเรนิทานและอวิทูเรนิทาน เป็นสรรพสาธารณะ
ฉะนั้น นิทานเหล่านั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยกล่าวไว้พิสดารแล้วใน
อรรถกถาชาดก นั่นแล. แต่ในสันติเกนิทานมีความต่างออกไป ดังนั้น
พึงทราบกถาโดยสังเขปแห่งนิทานแม้ 3 อย่าง ตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้.
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกร พระพุทธเจ้าผู้
เป็นที่พึ่งของโลก เป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ สมควรแก่
อภินิหารของพระองค์ ทรงยังบารมีที่สะสมมาเพื่อพระสัพพัญญุตญาณให้ถึง
ที่สุด เสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลาเพื่อให้เกิดความเป็นพระพุทธะ
ทรงดำรงอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตราบเท่าถึงอายุขัย จุติจากนั้นแล้วทรง